[ หน้าหลัก ] | [ หน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ] | [ ตั้งข่าวประชาสัมพันธ์ ]  

 

 
       

 


โพนทอง ปิดค่ายโครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic เครือข่
     
 

โพนทอง ปิดค่ายโครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic เครือข่ายบริการสุขภาพ ประจำปี 2553

วันนี้ (7 ตค.53) เวลา 09.00 น. นายแพทย์ภาสกร ไชยเศรษฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีปิดโครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic (อ่านว่า เม็ด-ตา-บอ-หลิก) เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอโพนทอง ประจำปี 2553 ณ หอประชุมอำเภอโพนทอง โดยมีนายสมชาย บุญเรือง สาธารณสุขอำเภอโพนทอง เป็นผู้กล่าวรายงาน

นายสมชาย บุญเรือง กล่าวว่า กลุ่มโรค Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหลอดเลือดและหัวใจ กลุ่มโรคเหล่านี้ ถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มโรควิถีชีวิต เนื่องจากมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน บริโภคอาหารที่ไม่ได้***ส่วน การบริโภคอาหาร หวาน มัน เค็ม บริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ ความเครียดเรื้อรัง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และภาวะไขมันในเลือดสูง อำเภอโพนทอง จึงได้ดำเนินโครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงต่อโรค Metabolic โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 ด้วยวิธีการตรวจคัดกรองประชาชน อายุ 30 ปีขึ้นไป รวมทั้งสิ้น 23,643 คน คิดเป็น ร้อยละ 92.8 และคัดเลือกผู้มีความเสี่ยงต่อกลุ่มโรค Metabolic เข้ารับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 331 คน ระหว่าง เดือน มิถุนายน- กันยายน 2553 จัดการอบรม เป็น 5 รุ่น ๆละ 66 คน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 662,000 บาท วิทยากรโดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลโพนทองและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง

นายแพทย์ภาสกร ไชยเศรษฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นมาตรการหนึ่งในการดำเนินการสู่การลดปัจจัยใจเสี่ยงระดับบุคคล ชุมชน ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภค การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจและเลือกปฏิบัติลดความเสี่ยง ตลอดจนการเข้าถึงการส่งเสริมเทคนิค วิธีการปฏิบัติ ต้องมีการดำเนินการประสานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย โดยระดมทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านขบวนการร่วมคิด ร่วมทำ อย่างเป็นระบบ เลือกกลยุทธและกิจกรรมการดำเนินงาน อย่างเหมาะสมกับปัญหา วิถีชีวิตและบริบทของชุมชน และการดำเนินงานจะเกิดความยั่งยืนได้นั้น จะต้องอาศัยพลังของประชาชนเป็นรากฐาน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สร้างความเข็มแข็งให้กับบุคคล ชุมชน จึงจะส่งผลให้ลดความเสี่ยง ลดโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระยะยาวได้.

พิมลสิริ มณีฉาย ภาพและข่าว

 
     
      By : ประชาสัมพันธ์  Mail to ประชาสัมพันธ์    (192.168.2.*)  7/10/2010 04:43 PM  
 
 

 
กำหนดหัวหน้ากลุ่มงาน/งาน ...สสจ.ร้อยเอ็ด
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์คอมพิวเตอร์ โทร. 0-4351-1754 ต่อ 123
The best view at 800x600 pixel 16 bit or better, support with IE 5.0 or later