ผลการคัดเลือกผลงานเด่นที่เป็นเลิศ ภาคีเครือข่ายเมืองน่าอยู่ จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2553
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดกิจกรรม คัดเลือกผลงานเด่นที่เป็นเลิศ ของภาคีเครือข่ายเมืองน่าอยู่ จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2553 เพื่อเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลการดำเนินงานดีเด่นในด้านอาหารปลอดภัย คุ้มครองผู้บริโภค และผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานเมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ ระหว่าง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ชมรมร้านอาหาร และชมรมผู้ขายของในตลาดสด จำนวน 250 คน โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2553 ณ โรงแรมเพชรรัชต์การ์เด้นร้อยเอ็ด และมีนายธานี ปลูกเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิด
ผลการคัดเลือกผลงานเด่นที่เป็นเลิศ ดังนี้
1.ชมรมร้านอาหารและแผงลอยดีเด่น
ชนะเลิศ เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมโล่ คือ ชมรมร้านอาหารและแผงลอยอำเภอปทุมรัตต์
รองชนะเลิศ เงินรางวัล 2,000 บาท คือชมรมร้านอาหารและแผงลอยดีเด่นอำเภอพนมไพร
2.ชมรมผู้ขายของในตลาดสดดีเด่น
ชนะเลิศ เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมโล่ คือชมรมผู้ขายของในตลาดสด เทศบาลตำบลโพนทอง อำเภอโพนทอง
รองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 2,000 บาท คือชมรมผู้ขายของในตลาดสด เทศบาลตำบลจตุรพักตรพิมาน
รองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 1,000 บาท คือชมรมผู้ขายของในตลาดสดทุ่งเจริญ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
และชมเชย 3 รางวัลๆละ 500 บาท ได้แก่ ชมรมผู้ขายของในตลาดสดเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ ,ชมรมผู้ขายของในตลาดสด เทศบาลตำบลปทุมรัตต์ อำเภอปทุมรัตต์ และชมรมผู้ขายของในตลาดสด เทศบาลตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร
3.เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพ
เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพดีเด่น ด้านการส่งเสริมสุขภาพ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่ คือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพดีเด่น ด้านการจัดการของเสียชุมชน เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่ คือเทศบาลตำบลพนมไพร
เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพดีเด่น ด้านการจัดการความปลอดภัยอาหารและน้ำ เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่ คือ เทศบาลตำบลโพนทอง
เมืองน่าอยู่ด้านสุขภาพดีเด่น ด้านการมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของชุมชน เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่ คือเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
4.ค่าตอบแทนสำหรับผู้นำเสนอผลงานปากเปล่า คณะละ 500 บาท
5.ค่าตอบแทนนำเสนอผลงานด้วยนิทรรศการ คณะละ 1,000 บาท
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวเพิ่มเติมว่า การขับเคลื่อนสร้างสังคมให้เป็นสุข ทางด้านสุขภาพนั้น ไม่อาจดำเนินการให้สำเร็จได้โดยหน่วยงานสาธารณสุขเพียงหน่วยงานเดียว จำเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน ให้มีความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ในการดำเนินงาน การจัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานเด่นที่เป็นเลิศของการดำเนินงานของแต่ละภาคีเครือข่าย ก็เป็นแนวทางหนึ่ง ในการค้นหารูปแบบ และแบบอย่างที่ดี ในการดำเนินงานที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการทำงานที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะทำให้เรามีท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการจัดการและความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสุขภาพ แม้จะเกิดขึ้นปีละไม่มาก แต่หากเพิ่มขึ้นด้วยความเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนแล้ว ในหลายๆปีต่อไปในข้างหน้า เราก็จะมีท้องถิ่น ที่มีศักยภาพในการจัดการและความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสุขภาพเป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองร้อยเอ็ดของเรา มีแต่ความน่าอยู่ในทุกหนทุกแห่ง.
พิมลสิริ มณีฉาย ภาพและข่าว |