|
1. ปรุงอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง
2. ไม่รับประทานอาหารดิบ หรือ สุกๆ ดิบๆโดยเฉพาะอาหารเนื้อสัตว์
3. ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หรือ ปรุงเสร็จทันที
4. เก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วอย่างระมัดระวัง เช่นข้าวกล่อง อาหารถุง ถ้าจะนำมา รับประทานต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึง ก่อนนำมารับประทาน สำหรับอาหารทารกต้องนำมารับประทานทันที หลังปรุงสุกแล้ว
5. หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนระหว่างอาหารด้วยกัน ไม่ให้อาหารที่ ปรุงเสร็จแล้วปนเปื้อนกับอาหารดิบ เช่นการใช้เขียง การใช้มีด
6. เลือกอาหารที่มีขบวนการผลิตที่ปลอดภัย โดยเฉพาะผัก และผลไม้ ต้องล้างให้สะอาด จากการปนเปื้อนสารเคมี
7. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด ทุกครั้ง ก่อนและหลังการรับประทานอาหาร และภายหลังการเข้าห้องส้วม อย่าใช้มือสัมผัสอาหารที่ปรุงสุกแล้วโดยตรง ควรใช้ช้อนกลาง
8. รักษาสิ่งแวดล้อมในครัวให้สะอาด โดยเฉพาะที่ใช้ปรุงอาหาร
9. น้ำดื่ม น้ำใช้ต้องสะอาด โดยเฉพาะน้ำที่ใช้ปรุงอาหาร
10. ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเตรียมอาหาร สำหรับทารกหรือเด็ก เด็กที่ต้องกินนมผสม ควรใช้น้ำต้มสุกในการชงนมและขวดนมควรล้าง หรือ ต้มทิ้งไว้ให้แห้ง ก่อนชงนม
11. การรักษาเบื้องต้น เพื่อทดแทนภาวะขาดน้ำ ควรดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่ โออาร์เอส ใน***ส่วนที่ถูกต้อง หากอาการไม่ดีขึ้น ต้องรีบพบแพทย์โดยทันที
กินอาหารร้อน สุก สะอาด ปราศจากสารพิษ ล้างมือเป็นนิจ
ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ชีวิตปลอดภัย
ที่มา กรมควบคุมโรค บทความโดย
.. สุจิตรา ปัญญาดิลก
|
|
|