|
ร้อนนี้ !!!!! ระวัง อาหารเป็นพิษ
ควรเลือกรับประทานอาหารให้ปลอดภัยในแต่ละประเภท ดังนี้
อาหารประเภทแป้ง
ขนมจีน ควรนึ่งอีกครั้งก่อนรับประทาน
ขนมปัง ควรเลือกใหม่ๆไม่หมดอายุ ไม่มีเชื้อรา
ข้าวกล่องและอาหารที่เตรียมไว้สำหรับคนจำนวนมากๆสำหรับงานเลี้ยง ควรปรุงให้สะอาด ไม่ควรปรุงไว้ข้ามมื้อ
ข้าวผัดปูควรนึ่งเนื้อปู เพื่อฆ่าเชื้อก่อนจะนำใส่ข้าวผัด
อาหารทะเล
ควรเลือกซื้อที่สด ล้างให้สะอาดก่อนปรุง
รับประทานอาหารทะเลที่ปรุงสุก
หอยแมลงภู่ควรดึงเส้นใยออก ก่อนรับประทาน ปูเค็ม ปูดอง หอยแครง หอยนางรม ควรปรุงให้สุก
ไม่ควรวางอาหารที่ปรุงสุก ปะปนกับอาหารดิบ
อาหารประเภทโปรตีน
หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ เช่นลาบ ก้อย
เลือกซื้อเนื้อ นม ไข่สด ที่สะอาด
ห้ามใช้มือสัมผัสอาหารที่ปรุงสุกพร้อมบริโภค เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อลงในอาหาร
สำหรับนมควรดูวันหมดอายุก่อนรับประทาน หรือถ้ารับประทานแล้วรสชาติไม่เหมือนเคยก็ไม่ควรรับประทาน
ผู้จำหน่ายเนื้อสัตว์ ควรให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดมีด เขียงควรแยกระหว่างอาหารดิบและอาหารสุก
กรณี นมพลาสเจอร์ไลซ์ ต้องเก็บที่อุณภูมิ 8 องศาเซลเซียส การเก็บนมพลาสเจอร์ไลซ์ ข้ามวัน ไม่ควรเก็บไว้ในถังน้ำแข็ง เพราะควบคุมอุณภูมิได้ไม่ดี ควรเก็บไว้ในตู้เย็น
อาหารประเภทผักและผลไม้
เลือกซื้อผักและผลไม้ที่สะอาด ปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลง
ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนนำมารับประทานโดยเด็ดใบ คลี่ใบล้างผ่านน้ำหลายๆครั้ง
น้ำดื่ม
ควรดื่มน้ำต้มสุก ภาชนะที่บรรจุต้องสะอาด ไม่ควรดื่มน้ำจากแม่น้ำ ลำคลองที่ยังไม่ผ่านการบำบัด
กรณีเด็กเล็กที่ให้นมผสม ควรนึ่งหรือต้มขวดนม ก่อนนำมาใช้ใหม่ใช้น้ำต้มสุกชงนม
ควรเลือกรับประทานน้ำแข็ง ที่ไม่มีตะกอน
อาหารกระป๋อง
ต้องดูวันหมดอายุ ลักษณะกระป๋องไม่เป็นสนิม บุบ บวม หรือโป่งพอง
ควรอุ่นอาหารให้เดือดเพื่อทำลายสารพิษ หากต้องการทำลายเชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัมต้องให้เดือด 100 องศา นาน 10 นาทีจะทำลายสารพิษได้ เชื้อนี้จะมีสปอร์ หากจะทำลายสปอร์ ต้องใช้ความร้อน 120 องศาเซลเซียส นานกว่า 30 นาที
กินอาหารร้อน สุก สะอาด ปราศจากสารพิษ ล้างมือเป็นนิจ
ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ชีวิตปลอดภัย
ที่มา กรมควบคุมโรค บทความโดย
.. สุจิตรา ปัญญาดิลก
|
|
|