สาธารณสุขร้อยเอ็ดเตือนชาวบ้านระวังการกินหญ้าน้ำค้าง
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า ตามที่มีชาวบ้านแตกตื่นกันไปเก็บบัวหิมะที่เกิดอยู่ตามท้องนา โดยเชื่อว่าสามารถรักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ปวดขา เบาหวาน หอบหืด ตามที่เป็นข่าวทางสื่อมวล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ชาวบ้านสามแยกหลายครอบครัวได้เก็บบัวหิมะหรือหญ้าหมอกน้ำค้าง มาตากแห้งไว้ต้มดื่ม นำมาตากแห้ง โดยไม่ล้าง นาน 7แดด 7 หมอก แล้วจึงนำมาต้มดื่มเพราะเชื่อว่าสามารถรักษาโรคปวดขา เบาหวาน ได้ตามคำบอกเล่า
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ตรวจสอบข้อมูลไปที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ เขต 6 ขอนแก่น พบว่าหญ้าน้ำค้าง หรือที่เรียกว่า หมอกบ่วาย/ จอกบ่วาย/หมอกบ่เหือด เป็นพืชล้มลุก ออกเป็นกระจุกติดพื้นดิน ผิวใบทั้งสองด้านเป็นต่อมเหนียวเพื่อดักจับแมลง พืชมีสีแดง กับสีเขียว เป็นตัวผู้ กับตัวเมีย เป็นพืชสกุลโดรเซอร่า
ข้อมูลจากสารานุกรมสมุนไพรเล่ม 4 (กกยาอีสาน) ระบุว่า ยาพื้นบ้านอีสาน
ใช้ ทั้งต้นแห้ง ดองเหล้าดื่ม แก้ท้องมาน ทั้งต้นสด ขยี้ทา แก้กลากเกลื้อน ตำรายาไทย ใช้ทั้งต้น แก้บิด ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข้มาลาเรีย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีรายงานวิจัยยืนยันทางเภสัชวิทยา อีกทั้งขนาดและรูปการใช้ไม่มีผลงานวิจัยยืนยัน พืชสกุลโดรเซอร่า หลายชนิดเป็น พลัมบาจิน มีสารกลุ่มแนพโทควิโนน ชนิดเดียวกับที่พบในรากเจตมูลเพลิง มีฤทธิ์ต้านการเกิดมะเร็งจากสาร ก่อมะเร็ง แต่สารชนิดนี้มีความเป็นพิษค่อนข้างสูง คือมีฤทธิ์ต่อการกลายพันธ์ เป็นพิษต่อยีนรวมทั้งทำให้เกิดอนุมูลอิสระ มีศักยภาพทำให้เกิดมะเร็ง ยังเป็นพิษ ต่อระบบสืบพันธ์ของสัตว์ทดลองทั้งสองเพศ ถ้าถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง และพุพองได้
ดังนั้นการกินบัวหิมะ หรือ หญ้าน้ำค้าง อาจมีการเกิดพิษระยะสั้น คือ คอแห้ง ไอ คออักเสบ คันตามตัว อ่อนเพลีย ทั้งยังอาจมีการสะสมพิษในระยะยาว จึงขอเตือนให้ประชาชนระมัดระวัง เพราะจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้.
|