[ หน้าหลัก ] | [ หน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ] | [ ตั้งข่าวประชาสัมพันธ์ ]  

 

 
       

 


สถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดร้อยเอ็ด(7 พฤษภาคม 2564)
     
 

**ร้อยเอ็ดพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มอีก 5 ราย รวม 189 รายในระลอกเมษายน 64
**สถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดร้อยเอ็ด
**ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2564
**วันนี้มีผู้รักษาหายกลับบ้านได้ 11 รายแบ่งเป็น โรงพยาบาลร้อยเอ็ดและโรงพยาบาลสนาม 8 ราย โรงพยาบาลเกษตรวิสัย 3 ราย (รักษาหายสะสม 69 ราย) พร้อมส่งตัวกลับชุมชนเพื่อกักตัวต่อที่บ้านอีก 14 วัน
**ส่วนผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 รายใหม่ของวันนี้เพิ่มขึ้น 5 ราย (ยอดสะสมรวม 189 ราย) ดังนี้

**อำเภอโพนทราย 2 ราย
*ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรายที่ 185 (รายที่ 1 ของวันนี้) เพศหญิง อายุ 51 ปี สัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยันรายที่ 145 ของ จ.ร้อยเอ็ด
*ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรายที่ 186 (รายที่ 2 ของวันนี้) เพศชาย อายุ 14 ปี สัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยัน รายที่ 145 ของ จ.ร้อยเอ็ด

**อำเภอจตุรพักตรพิมาน 2 ราย
*ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรายที่ 187 (รายที่ 3 ของวันนี้) เพศหญิง อายุ 30 สัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยันรายที่ 184 ของ จ.ร้อยเอ็ด
*ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรายที่ 188 (รายที่ 4 ของวันนี้) เพศหญิง อายุ 21 ปี สัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยันรายที่ 184 ของ จ.ร้อยเอ็ด

**อำเภอหนองฮี 1 ราย
*ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรายที่ 189 (รายที่ 5 ของวันนี้) เพศหญิง อายุ 34 ปี สัมผัสผู้ติดเชื้อยืนยันรายที่ 145 ของ จ.ร้อยเอ็ด

**ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อยืนยันทุกรายจะถูกส่งเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรค (CDCU) ของทุกอำเภอ อยู่ในระหว่างดำเนินการสอบสวนโรค และค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเข้ารับการตรวจหาเชื้อ และแยกกักตัวเป็น ระยะเวลา 14 วัน
**สำหรับรายละเอียดประวัติเสี่ยงผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของวันนี้จะแจ้งใน Time Line ต่อไป **

นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า“การนำวัคซีนมาใช้เราหวังผลคือไม่ให้ติดเชื้อ ไม่ให้ป่วยหนัก ไม่ให้แพร่เชื้อในครอบครัวและสังคม ตลอดจนสามารถสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ได้ การฉีดวัคซีนโควิดจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ สำหรับตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละยี่ห้อ ไม่อยากให้ยึดติดเพราะการวิจัยมีความแตกต่างและหลากหลาย ทั้งสถานที่ เวลา เผ่าพันธุ์ และช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคว่ารุนแรงมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยขณะวิจัยมีเชื้อกลายพันธุ์เกิดขึ้น จึงเอามาเทียบกันไม่ได้ แต่ที่ชัดเจนคือ วัคซีนทุกตัวป้องกันการเสียชีวิตและการป่วยหนักจนต้องนอนไอซียูได้เกือบ 100%”

“วัคซีนซิโนแวคพบว่าป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้เกือบ 100% เหมือนวัคซีนตัวอื่นๆ ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีการศึกษาว่ามีผลต่อเชื้อกลายพันธุ์ค่อนข้างดี โดยเฉพาะสายพันธุ์อังกฤษได้ผลเกือบ 70% แต่สำหรับสายพันธุ์ดั้งเดิมป้องกันได้ประมาณ 81% ขึ้นไป แต่ผลการป้องกันอาจจะยังไม่ค่อยได้ผลดีในสายพันธุ์แอฟริกาใต้ นอกจากนี้ที่สกอตแลนด์มีการศึกษาเปรียบเทียบผลการป้องกันโรคระหว่างวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ากับวัคซีนของไฟเซอร์ พบว่าประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่ากัน และวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้ามีแนวโน้มดีกว่าโดยเฉพาะการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน” นายแพทย์ทวีกล่าว

**จังหวัดร้อยเอ็ด ขอเชิญชวนประชาชนฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง แจ้งความประสงค์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และกำหนดฉีดวัคซีนวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ส่วนกลุ่มอายุ 18-59 ปี ลงทะเบียน ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 “วัคซีนโควิด-19 ลดความรุนแรงของโรค สร้างภูมิคุ้มกันหมู่สู้ภัยโควิด-19”

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
7 พฤษภาคม 2564

ทองสุข โพนเงิน/ข่าว
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ /แหล่งข่าว

 
     
      By : ทองสุข  Mail to ทองสุข    (192.168.11.*)  7/05/2021 09:38 AM  
 
 

 
กำหนดหัวหน้ากลุ่มงาน/งาน ...สสจ.ร้อยเอ็ด
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์คอมพิวเตอร์ โทร. 0-4351-1754 ต่อ 123
The best view at 800x600 pixel 16 bit or better, support with IE 5.0 or later