[ หน้าหลัก ] | [ หน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ] | [ ตั้งข่าวประชาสัมพันธ์ ]  

 

 
       

 


ร้อยเอ็ด แถลงข่าว COVID – 19 ครั้งที่ 127
     
 

ร้อยเอ็ด แถลงข่าว COVID – 19 ครั้งที่ 127

วันนี้ (17 กันยายน 2563 ) เวลา 15.00 น. นายเลิศบุศย์ กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานการแถลงข่าวฯ พร้อมด้วย ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ พายุหะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวสถานการณ์และการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 127 ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดร้อยเอ็ดมีผู้เข้าเกณฑ์ตรวจหาเชื้อโควิด-19 (ยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 17 กันยายน 2563) จำนวน 382 ราย มีผู้เข้าเกณฑ์ตรวจหาเชื้อรายใหม่ 1 ราย พบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 สะสม จำนวน 3 ราย(รักษาหายทั้ง 3 ราย) ตรวจแล้วไม่พบเชื้อโควิด-19 จำนวน 379 ราย การค้นหาเชิงรุกผู้ต้องขังแรกรับในเรือนจำจังหวัดร้อยเอ็ด (ยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน–17 กันยายน 2563) จำนวน 652 ราย ตรวจแล้วไม่พบเชื้อโควิด-19 จำนวน 634 ราย รอผลตรวจ 18 ราย

สถานการณ์ทั่วโลก ใน 211 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 2 เรือสำราญ (ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม ถึง 17 กันยายน 2563 เวลา 11.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสม จำนวน 30,036,868 ราย (มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 308,226 ราย) มีผู้เสียชีวิตสะสม 945,092 ราย (มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 6,229 ราย) ประเทศที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ สหรัฐอเมริกา 6,828,301 ราย เสียชีวิต 201,348 ราย รองลงมา คือ อินเดีย 5,118,253 ราย เสียชีวิต 83,230 ราย บราซิล 4,421,686 ราย เสียชีวิต 134,170 ราย รัสเซีย 1,079,519 ราย เสียชีวิต 18,917 ราย และประเทศเปรู 744,400 ราย เสียชีวิต 31,051 ราย

สถานการณ์ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 17 กันยายน 2563) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อสะสมจำนวน3,490 ราย ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ เสียชีวิตสะสม 58 ราย และมียอดผู้ป่วยสะสมอยู่ในลำดับที่ 128 ของโลก

ประเทศไทยสามารถติดตามผู้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วทำให้จำกัดวงการแพร่ระบาดได้ ส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชาชนร่วมมือลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ผ่านแอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้บริการแล้ว 44,884,100 คน โดยมีกิจการร้านค้าที่ลงทะเบียนเข้าร่วม จำนวน 288,824 แห่ง นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือของประชาชนที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างระหว่างผู้อื่น นอกจากจะช่วยป้องกันโรคโควิด 19 ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่นๆ และโรคติดต่อทางเดินอาหารด้วย จากข้อมูลของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ปี 2563 เปรียบเทียบกับ ปี 2562 (ช่วงระหว่างเดือนมกราคม- สิงหาคม) ลดลงถึง 2.3 เท่า เช่นเดียวกับข้อมูลการลดลงของจำนวนผู้ป่วย โรคอุจจาระร่วง ในปี 2563 ลดลง 1.3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นว่ามาตรการป้องกันตนเองสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคทั้ง 2 กลุ่ม จึงขอเน้นย้ำให้ประชาชนยังคงปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่องเพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี และลดอัตราการป่วยจากโรคดังกล่าว

จากมาตรการป้องกันตนเองที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคโควิด 19 จนเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติแล้ว ยังสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ระบุไว้ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ว่า “การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหะสถานนั้น เป็นหนึ่งในวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ในการลดความเสี่ยงติดเชื้อและแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเดินหายใจ โดยยังต้องรักษาสุขอนามัยร่วมกับการล้างมือ ให้ถูกวิธี และการรักษาระยะห่างจากผู้อื่นให้เป็นปกติสม่ำเสมอ” ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศนำมาตรการนี้ไปบังคับใช้กับประชากรในประเทศให้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโควิดในชุมชน

ขอเชิญชวนชาวร้อยเอ็ด ใช้ชีวิตวิถีใหม่ให้ปลอดภัยจากโรคโควิด 19
“กินร้อน ใช้ช้อนส่วนตัว อยู่ห่างไว้ ใส่แมสกัน หมั่นล้างมือ ถือหลักรักสะอาด ปราศจากแออัด เคร่งครัด ไทยชนะ

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
17 กันยายน 2563

ธีรศักดิ์ คำแก้ว ข่าว
อชิรญา กฤตยาวรกุล ภาพ
ทองสุข โพนเงิน บรรณาธิการข่าว

https://www.facebook.com/photo/?fbid=175747084017000&set=pcb.175747417350300

 
     
      By : ประชาสัมพันธ์  Mail to ประชาสัมพันธ์    (171.101.96.*)  17/09/2020 04:04 PM  
 
 

 
กำหนดหัวหน้ากลุ่มงาน/งาน ...สสจ.ร้อยเอ็ด
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์คอมพิวเตอร์ โทร. 0-4351-1754 ต่อ 123
The best view at 800x600 pixel 16 bit or better, support with IE 5.0 or later