ศูนย์ EOC สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ยังคงเกาะติดสถานการณ์ภาวะน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ห้า นับตั้งแต่วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๒ เป็นต้นมา เพื่อเฝ้าระวังสนับสนุนให้การช่วยเหลือประชาชนด้านภัยสุขภาพอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพที่สุด
วันนี้(๗ ก.ย.๖๒) เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. นายบุญเลิศ พิมศักดิ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตามระบบบัญชาการเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขสำหรับทุกโรคและภัยสุขภาพและศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข(Emergency Operation Center : EOC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ณ ห้องประชุมนนทรี ชั้น ๓ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการสนับสนุนช่วยเหลือด้านสุขภาพแก่ประชาชน อันเกิดจากการได้รับผลกระทรบจากภัยน้ำท่วม ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
สรุปการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข(EOC)กรณีอุทกภัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ณ วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๒ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับผลกระทบจากเหตุการอุทกภัย จำนวน ๙ อำเภอ ๔๑ ตำบล ๑๙๙ หมู่บ้าน ๑๐,๖๖๔ ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เสลภูมิ ธวัชบุรี จังหาร ทุ่งเขาหลวง โพธิ์ชัย พนมไพร เชียงขวัญ และสุวรรณภูมิ
พบผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ ๔ ราย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด ๓ ราย อำเภอเสลภูมิ ๑ ราย ยอดสะสมประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคที่สำคัญ ดังนี้ โรคผิวหนัง (ผื่นคัน,น้ำกัดเท้า) ปวดศีรษะ วิงเวียน จากภาวะเครียด โรคทางเดินหายใจ(ไข้หวัด) โรคระบบกล้ามเนื้อ และโรคระบบทางเดินอาหาร ตามลำดับ
ในการดูแลด้านสุขภาพจิตผู้ได้รับผลกระทบ โดย MCATT (อ่านว่า เอ็ม - แค็ด) คือ ทีมสหวิชาชีพที่ให้การช่วยเหลือเยียวยาด้านจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต ให้บริการตรวจรักษาและให้คำปรึกษา จำนวน ๗๓๙ ราย มีภาวะเครียดสูง ๖๔ ราย และผู้ป่วยต้องติดตามเป็นพิเศษ - ราย
สถานบริการสาธารณสุขและสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหายได้รับผลกระทบ จำนวน ๒๑ แห่ง ใน ๘ อำเภอ ปิดบริการ ๒ แห่ง เปิดบริการได้บางส่วน ๒ แห่ง ดังนี้่
๑.อำเภอเสลภูมิ จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านนาวี ,รพ.สต.บ้านกกทัน(เปิดบริการได้บางส่วน) ,รพ.สต.บ้านไค่นุ่น ,รพ.สต.บ้านป่าขี ,รพ.สต.บ้านพันขาง(เปิดบริการได้บ่างส่วน) และ รพ.สต.บ้านขวาว
๒.อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านขอนแก่น และ รพ.สต.บ้านสังข์สงยาง
๓.อำเภอทุ่งเขาหลวง จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลทุ่งเขาหลวง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งเขาหลวง(ปิดบริการ แต่ยังคงออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่/เยี่ยมบ้าน)
๔.อำเภอโพธิ์ชัย จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านเชียงใหม่
๕.อำเภอจตุรพักตรพิมาน จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านน้ำใส
๖.อำเภอเชียงขวัญ จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ รพ.เชียงขวัญ ,รพ.สต.บ้านไผ่ ,รพ.สต.บ้านคุยขนวน และ รพ.สต.บ้านวังยาว(ปิดบริการ)
๗.อำเภอพนมไพร จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพนมไพร ,รพ.สต.บ้านโพธิ์ใหญ่ และ รพ.สต.บ้านดอนแดง
๙.อำเภออาจสามารถ จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ รพ.สต.บ้านหนองขาม และ รพ.สต.บ้านโหรา
ทั้งนี้ นพ.ปิติ ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีมาตรการให้ทุกพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทรบจากอุทกภัย ให้ครอบคลุมทั้งทางด้านสุขภาพและสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้พิการ ผู้สูงวัย/ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จัดทีมเคลื่อนที่เร็วออกให้บริการให้ความรู้ประชาชนป้องกันโรคติดต่อ ดูแลด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นหลังน้ำลด สำรวจผลกระทบต่อสถานบริการสาธารณสุข สำรวจเครื่องมือทางการแพทย์ให้พร้อมใช้เพื่อบริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้ผู้บริหารหน่วยงานสำรวจผลกระทบต่อบุคลากรสาธารณสุขให้การดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อเกิดขวัญกำลังใจที่จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเต็มที่ ในกรณีสถานบริการสาธารณสุขต้องการช่วยเหลือหรือเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน ให้ติดต่อศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข(EOC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็๋ด โทร ๐ ๔๓๕๑ ๑๗๕๔ ต่อ ๑๒๑ หรือผู้ประสานงาน นายศิริรัตน์ พึ่งสันเทียะ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด โทร ๐๙๔ ๓๒๓๙๐๓๕.
ภาพกิจกรรม : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2416461798473603&id=100003294191323
/////////////////////////////////////
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
๗ กันยายน ๒๕๖๒
พิมลสิริ มณีฉาย ภาพ/ข่าว
ทองสุข โพนเงิน /หัวหน้าฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
|