[ หน้าหลัก ] | [ หน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ] | [ ตั้งข่าวประชาสัมพันธ์ ]  

 

 
       

 


สธ.ร้อยเอ็ด เตือน ! หน้าฝน ระวังการรับประทานเห็ดพิษ และระวังโรคไข้เลือดออก
     
 

วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เวลา 10.00 น. ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ พายุหะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ให้สัมภาษณ์เตือนระวังการรับประทานเห็ดช่วงหน้าฝน และโรคไข้เลือดออก แก่ทีมงานผู้สื่อข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดร้อยเอ็ด (สวท.ร้อยเอ็ด) FM 94.0 MHz ณ ห้องทำงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนต่อไป

ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนของทุกปีจะพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากการรับประทานเห็ดพิษที่ขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นประจำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ประชาชนนิยมเก็บ เห็ดป่าในธรรมชาติมารับประทาน แต่เนื่องจากเห็ดป่านั้นมีทั้งเห็ดที่กินได้และเห็ดพิษ ซึ่งลักษณะใกล้เคียงกัน อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ สำหรับสถานการณ์อาหารโรคเป็นพิษจากการรับประทานเห็ดพิษ จังหวัดร้อยเอ็ด ในปี 2562 จากรายงานเฝ้าระวังโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 20 พฤษภาคม 2562 ถึงแม้ว่า จะยังไม่พบรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตก็ตาม แต่ก็อยากจะเตือนระวังไว้เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพและชีวิต ถ้าเป็นไปได้ อยากให้หลีกเลี่ยงการรับประทานเห็ดป่าที่ตนเองไม่แน่ใจว่ารับประทานได้ เนื่องจากข้อแตกต่างของเห็ดที่กินได้ กับเห็ดพิษบางชนิดสังเกตด้วยตาเปล่าแทบแยกไม่ออก เห็ดที่เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตส่วนใหญ่ คือ เห็ดระโงกพิษ บางแห่งเรียกว่าเห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก หรือ เห็ดไข่ตายซาก ซึ่งเห็ดชนิดนี้จัดอยู่ในกลุ่มเห็นที่มีความคล้ายคลึงกับ เห็ดระโงกขาวหรือเห็ดไข่ห่านที่สามารถกินได้ แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือเห็ดระโงกพิษ จะมีก้านสูง กลางดอกหมวกจะนูนเล็กน้อย มีกลิ่นค่อนข้างแรง นอกจากนี้ยังมีเห็ดป่าชนิดที่มีพิษรุนแรง คือเห็ดเมือกไคเหลือง โดยประชาชนมักสับสนกับเห็ดผึ้ง ซึ่งเห็ดที่เป็นพิษจะมีเมือกปกคลุมและมีสีดอกเข้มกว่า ยากแก่การสังเกตด้วยตาเปล่า และเห็ดอีกชนิดหนึ่งคือเห็ดหมวกจีน เป็นเห็ดที่คล้ายกับเห็ดโคนขนาดเล็ก สำหรับอาการหลังจากกินเห็ดพิษแล้ว จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรืออุจจาระเหลว ไม่ควรซื้อยากินเองหรือไปรักษากับหมอพื้นบ้าน จะต้องรีบไปพบแพทย์ และแจ้งประวัติการกินเห็ดโดยละเอียด พร้อมนำตัวอย่างเห็ดพิษไปด้วย(หากยังเหลือ) และควรนัดผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือนัดติดตามอาการทุกวันจนกว่าจะหายเป็นปกติ เนื่องจากเห็ดพิษชนิดร้ายแรงจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในช่วงวันแรก แต่หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงตามมาคือ การทำงานของตับและไตล้มเหลว อาจทำให้เสียชีวิตได้ การช่วยเหลือผู้ป่วยที่กินเห็ดพิษเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยอาเจียนเอาเศษอาหารที่ตกค้างออกมาให้มากที่สุด โดยการล้วงคอ หรือกรอกไข่ขาว จากนั้นรีบนำผู้ป่วยพบแพทย์ทันที

นอกจากนั้น ดร.นพ.พิทักษ์พงศ์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมเก่ายวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก ด้วยว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดร้อยเอ็ด ในปี 2562 ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2562 อยู่ในลำดับที่ 43 ของประเทศ ลำดับที่ 10 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำดับที่ 2 ของเขตสุขภาพที่ 7 จึงขอฝากไปถึงพี่น้องประชาชนให้มีความตระหนักในเรื่องการดูแลป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ถือเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและควบคุมยุงในบ้านของตนเอง อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกบ้าน ทุกพื้นที่ ทุกสัปดาห์ รวมถึงในชุมชน และสถานที่สำคัญ เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ทำการกสำรวจและกำจัดขยะ หรือภาชนะที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยไม่ต้องรอให้มีน้ำขัง เช่น ถ้วยโฟม แก้วน้ำพลาสติก ถังน้ำ ยางรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้ ที่รองขาตู้ เป็นต้น ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยมีไข้สูงเกิน 2 วัน ไม่ควรซื้อยาทานเองและไม่ฉีดยาลดไข้ แนะนำให้ไปรักษาที่โรงพยาบาล ร้านขายยาหรือคลิกนิกห้ามขายยาและจ่ายยา NSAIDs(กลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบ)ให้ผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก เพราะจะเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น แนะนำให้ไปรักษาที่โรงพยาบาล.

ภาพกิจกรรม : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2235992403187211&id=100003294191323
////////////////////////////////////////


สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
27 พฤษภาคม 2562


พิมลสิริ มณีฉาย /ข่าว
ทองสุข โพนเงิน /หัวหน้าฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์

 
     
      By : พิมลสิริ  Mail to พิมลสิริ    (192.168.11.*)  28/05/2019 09:21 AM  
 
 

 
กำหนดหัวหน้ากลุ่มงาน/งาน ...สสจ.ร้อยเอ็ด
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์คอมพิวเตอร์ โทร. 0-4351-1754 ต่อ 123
The best view at 800x600 pixel 16 bit or better, support with IE 5.0 or later