[ หน้าหลัก ] | [ หน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ] | [ ตั้งข่าวประชาสัมพันธ์ ]  

 

 
       

 


สาธารณสุขร้อยเอ็ด เตือนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันสูง โรคทำลายไต
     
 
สาธารณสุขร้อยเอ็ด เตือนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันสูง โรคทำลายไต
แนะควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ป้องกันไตวายได้

โรคไตเรื้อรังเป็นมหันตภัยเงียบ จะรู้ตัวเมื่อโรคลุกลามไปมาก ผู้ป่วยจำเป็นต้องล้างไตต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และต่อเนื่องไปนานตราบจนกว่าผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตหรือเสียชีวิต ดังนั้นการปลอดภัยจากโรคไตที่ดีที่สุด คือ การป้องกันโรคไต หรือรู้ตัวตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี ไตจะเริ่มทำงานลดลงหรือเสื่อมไปตามอายุขัย โดยเฉลี่ยไตจะทำงานลดลงประมาณ 1% ต่อปี แต่บางภาวะที่ไตจะเสื่อมลงอย่างรวดเร็วหรือหยุดทำงานทันที เรียกว่า “โรคไตวายเฉียบพลัน” แต่ถ้าไตเสื่อมลงอย่างช้าๆ ต่อเนื่องทำให้ไตเกิดความผิดปกติถาวร เรียกว่า “โรคไตเรื้อรัง” หากไตเกิดความเสื่อมอย่างมาก จะเรียกว่า “โรคไตวายระยะสุดท้าย” ซึ่งระดับนี้ไตจะไม่สามารถขจัดของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายผิดปกติ และถ้าไม่รักษาจะทำให้เสียชีวิตในเวลาอันสั้น

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 40% มีโอกาสที่จะเกิดโรคไตวายเรื้อรัง ส่วนผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่และกินยาไม่สม่ำเสมอ มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้จนเกิดภาวะเสื่อมของไตในที่สุด นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ชอบซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาแก้ปวด หรือยาชุด อาจเกิดผลเสียต่อไต ทำให้ ไตเสื่อมเร็วขึ้น

อาการสัญญาณอันตราย 6 อย่าง เตือนว่าท่านอาจเป็นโรคไตหรือไม่
1. ปัสสาวะขัดหรือปัสสาวะลำบาก เป็นอาการที่ชี้ชัดว่าท่านมีปัญหาของระบบ
ทางเดินปัสสาวะ
2. ปัสสาวะกลางคืน ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะไม่สามารถ
ดูดน้ำกลับคืนเขาร่างกายได้ดีเท่าไตปกติ
3. ปัสสาวะเป็นเลือดสีน้ำล้างเนื้อหรือขุ่นผิดปกติ บ่งบอกว่าอาจมีเลือดปนมากับ
ปัสสาวะที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีนิ่ว ไตอักเสบหรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ
4. อาการบวมรอบตา บวมหน้า เวลาตื่นนอน หรือบวมเท้าช่วงบ่าย หรือ
ยืนนานๆ ส่วนผู้ป่วยไตเรื้อรัง จะมีอาการบวมที่หลังเท้าและหน้าแข้ง กดมีรอยบุ๋ม
5. ปวดหลัง ปวดเอว ที่เกิดจากโรคไต มักมีสาเหตุมาจากมีนิ่วในไตหรือท่อไต
6. ความดันโลหิตสูง เป็นอาการสำคัญของโรคไตเรื้อรัง โดยเฉพาะรายที่มีความ
ดันโลหิตสูงมานานและควบคุมไม่ได้ เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท มักจะเป็นโรคไตเรื้อรัง และ หลอดเลือดแดงไตตีบ
 
     
      By : ประชาสัมพันธ์  Mail to ประชาสัมพันธ์    (113.53.188.*)  7/05/2009 10:58 AM  
 
 

 
กำหนดหัวหน้ากลุ่มงาน/งาน ...สสจ.ร้อยเอ็ด
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์คอมพิวเตอร์ โทร. 0-4351-1754 ต่อ 123
The best view at 800x600 pixel 16 bit or better, support with IE 5.0 or later