วันนี้ (3สิงหาคม 2559) ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความเป็นธรรมด้านสุขภาพและทิศทางในการแก้ไขปัญหาโรคมะเร็ง ว่า
การควบคุมโรคมะเร็งในเขตสุขภาพที่ 7 อันมุ่งที่ความเสมอภาคด้านสุขภาพ เป็นเป้าหมายที่ท้าทายอย่างยิ่ง อันจะสำเร็จได้ด้วยการรวมพลังกันอย่างเข้มแข็ง และมุ่งมั่น เป็นขั้นตอนและมีแผนงานที่รอบคอบตลอดระยะเวลายาวนานพอสมควร ความสำเร็จคือการทำให้ประชาชนในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน ราว 5 ล้านค้น ได้รับการดูแลอย่างถ้วนหน้าจนลดการเสียชีวิต หรือความทุกข์ทรมาน หรือความกลัวโรคมะเร็งลงอย่างเต็มที่ ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่และจะสามารถสร้างขึ้นต่อไป
ประชาชนทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็ง จึงต้องตัดสาเหตุลดความเสี่ยง ด้วยการปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิต และปรับสิ่งแวดล้อมให้ปลอดจากสารก่อมะเร็ง มะเร็งประชาชนส่วนหนึ่งมีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษ ทั้งที่การแพทย์มีความรู้และวิธีการที่จะลดหรือขจัดความเสี่ยงนั้นๆได้ คนที่เป็นในระยะแรกๆต้องได้รับการดูแลให้ปลอดภัย การเกิดโรคระยะแรกๆต้องได้รับการตรวจพบและได้รับการกำจัดมะเร็งนั้นเสียแต่เนิ่นๆ จะสามารถหายจากโรคได้ มะเร็งหายขาดได้ คนที่เป็นโรคต้อง และทันสมัย จนสามารถยืดอายุและลดความทุกข์ทรมานลงได้ คนที่เป็นมากต้องได้รับการดูแล ให้สามารถลดความทุกข์ทรมานจากโรคลงได้ มะเร็งดูแลประคับประคองได้
บริการสุขภาพเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเป็นพิเศษ ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์จะเกิดขึ้นได้ต้องสามารถเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ในแต่ละขณะ และต้องหาความรู้สร้างนวตกรรมที่ยังไม่มีให้เกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงการวิจัยเพื่อประเมินความรู้และเทคโนโลยี และเพื่อปรับใช้ความรู้ให้เหมาะสมกับสภาพในพื้นที่ ตลอดจนการวิจัยเสาะแสวงหาความรู้ที่ยังไม่มี
ทรัพยากรของรัฐ ทั้งบุคลากร เงิน และสิ่งจำเป็นต่างๆ มีอยู่อย่างจำกัด ต้องจัดการให้ใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด แต่ต้องเพียงพอสำหรับสิ่งจำเป็นในการดูแลสุขภาพ ส่วนทรัพยากรบุคคลก็เป็นเสรีภาพในการใช้ ระบบงานต้องประสานสัมพันธ์และเสริมกัน ไม่แยกเป็นส่วนเสี้ยว จึงจะสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
3 สิงหาคม 2559
ทองสุข โพนเงิน/ข่าว
|