ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ก็มีความห่วงใยชาวร้อยเอ็ด และได้ขอความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้มาตรการ ๓ ร (คือ ๑ โรงเรือน ต้องดูแลบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมปลอดลูกน้ำยุงลาย /๒โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ต้องกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ /๓ โรงพยาบาล ต้องไม่มีลูกน้ำยุงลาย ) ๕ ป (คือ ๑ปิด ฝาโอ่งน้ำภาชนะขังน้ำให้มิดชิด / ๒ เปลี่ยนน้ำในแจกันขาตู้ โอ่งน้ำใช้ ทุก ๗ วัน / ๓ ปล่อย ปลาหางนกยูง ปลากระดี่ให้กินลูกน้ำ /๔ ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมในและนอกบ้านให้สะอาด /๕ ปฏิบัติ ให้ทำจนเป็นนิสัยอย่าให้ยุงกัด นอนกางมุ้ง จุดหรือทายากันยุง ) และ ๑ข (ขัดไข่ ยุงลาย ด้านในของภาชนะที่มีน้ำขัง) อย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้แล้ว การใช้ตะไคร้หอมมาสกัดทากันยุงตามภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือจุดไล่ยุง ก็ใช้ได้เช่นกัน หากพบคนไข้ที่มีอาการสงสัย ต้องรีบแจ้ง อสม. หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยเร็ว
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖
สุจิตรา ปัญญาดิลก ข่าว /ภาพ
สุขสันต์ อินทรวิเชียร
หัวหน้าฝ่ายสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
|