[ หน้าหลัก ] | [ หน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ] | [ ตั้งข่าวประชาสัมพันธ์ ]  

 

 
       

 


รู้จัก “โรคคอตีบ”
     
 

"โรคคอตีบ"

เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่า "โรคคอตีบ"

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย พิษที่ถูกขับออกมาจะไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ และปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรง อาจทำให้เสียชีวิตได้
การติดต่อ : พบเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ ติดต่อง่ายโดยการรับเชื้อโดยตรงจาก การจาม ไอรดกัน หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู่ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ การใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก
ระยะฟักตัว : ๒-๕ วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะเข้าอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษานานประมาณ ๒ สัปดาห์ หรือหลายเดือน ผู้ที่ได้รับการรักษาเต็มที่เชื้อจะหมดไปภายใน ๑ สัปดาห์
อาการ: หลังระยะฟักตัว จะเริ่มมีไข้ต่ำๆคล้ายหวัด ในระยะแรกมีอาการไอเสียงก้อง เจ็บคอ เบื่ออาหาร เด็กโตอาจพบคออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทา ติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล ลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ และมีการตายของเนื้อเยื่อทับซ้อนกัน เกิดเป็นแผ่นเยื่อติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ
การรักษา : รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที รีบให้การรักษาโดยเร็ว การรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นมาก่อนได้รับการรักษา
การป้องกัน : แยกผู้ป่วยอย่างน้อย ๓ สัปดาห์หลังเริ่มมีอาการหรือตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
วิธีป้องกันที่ดีที่สุด : ในเด็กทั่วไป ต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ รวม ๕ ครั้ง
- อายุ ๒,๔,๖ เดือน ในรูปแบบวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก-ตับอักเสบบี ๓ ครั้ง
- อายุ ๑ปีครึ่ง และ ๔ ปี รูปแบบของวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก อีก ๒ ครั้ง

บทความโดย...สุจิตรา ปัญญาดิลก
ที่มา ...กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

พิมลสิริ มณีฉาย /ภาพ

 
     
      By : ประชาสัมพันธ์  Mail to ประชาสัมพันธ์    (192.168.11.*)  16/11/2012 09:11 AM  
 
 

 
กำหนดหัวหน้ากลุ่มงาน/งาน ...สสจ.ร้อยเอ็ด
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์คอมพิวเตอร์ โทร. 0-4351-1754 ต่อ 123
The best view at 800x600 pixel 16 bit or better, support with IE 5.0 or later