[ หน้าหลัก ] | [ หน้าข่าวประชาสัมพันธ์ ] | [ ตั้งข่าวประชาสัมพันธ์ ]  

 

 
       

 


ผลการประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ที่ อบต,พนมไพร
     
 

นจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นางรำพันแสงมาลัย สาธารณสุขอำเภอจังหารเป็นประธานการประเมินกองทุนสุขภาพท้องถิ่นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพนมไพร อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กำหนดออกประเมินกองทุน ฯ รอบที่ ๒ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นมา โดยนางนันทิยาประดิษฐ์ ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพท้องถิ่นระดับจังหวัด พร้อมด้วยนางนันทิพา กงเพชร และนางสุจิตรา ปัญญาดิลก นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ร่วมออกประเมินตาม เกณฑ์ ๓ ด้าน คือการบริหารจัดการกองทุน ๖๐ คะแนน/ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ ๓๐ คะแนน และนวัตกรรม อีก ๑๐ คะแนน รวม ๑๐๐ คะแนน
การประเมิน พบว่า คณะกรรมการบริหารงานกองทุนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงาน และการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการไม่ถึงร้อยละ ๘๐ แม้ว่าจะจัดประชุมครบ ๔ ครั้งต่อปี ตามระเบียบของกองทุน โดยที่ แผนงาน ยังเป็นของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหลัก ประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในการเสนอแผนงานโดยผ่านการประชาคมหรือการประชุมของชาวบ้านในหมู่บ้าน อย่างจริงจัง แต่จุดเด่นของกองทุนฯ นี้คือ นายไสว แสนยันต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฯ ได้กำหนดให้ทีมเลขานุการโดยมีนักวิชาการเกษตร เข้ามาร่วมบริหารจัดการ จัดทำบัญชี การรายงานผลการปฏิบัติงานทางอินเตอเน็ต และยังพบว่ามีการสมทบงบประมาณจากอบต.พนมไพรและจากภาคประชาชน ซึ่งหลายๆแห่งยังไม่มีการสมทบเงิน เพิ่มเติม และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลายแห่งก็ให้ความสนใจ เข้าร่วมรับฟังการประเมินในครั้งนี้ด้วย
สรุปผลการประเมิน : ได้คะแนน ๖๗ คะแนน อบต.พนมไพร จัดเป็นกองทุนที่มีศักยภาพปานกลาง และได้ มีการตอบข้อซักถาม เช่น กรณีถ้าไม่มีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่ต้องใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะถือว่ามีแผนงานดำเนินการครบทั้ง ๕กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามระเบียบของกองทุนหรือไม่ / คณะกรรมการประเมินระดับอำเภอ ควรประกอบด้วยใครบ้าง/ในเวทีประชาคมการจัดทำแผนงานใครจะเป็นหลักในการประชุมพิจารณา/ การใช้งบประมาณในการศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนากองทุนฯ จัดไว้ในแผนงานได้หรือไม่
ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ ในการประชุมควรมีเอกสาร เช่น รายชื่อคณะกรรมการ อนุกรรมการ แผนงาน โครงการ ปฏิทินกำกับ ติดตาม แผนงาน /กรรมการเข้าร่วมประชุมต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐/ วาระประชุม ต้องมีรายงานสถานการณ์การเงิน ทุกครั้ง /การเขียนแผนงาน ต้องวิเคราะห์ ข้อมูลสุขภาพ ปัญหาที่เร่งด่วนด้านสุขภาพของประชาชนเป็นหลัก /ต้องมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ทั้งก่อนและหลังดำเนินงานกองทุน รายงานผลงานตามระบบออนไลน์ และสรุปผลงาน พร้อมทั้งการสอบถามความพึงพอใจของประชาชนเมื่อสิ้นปีในเดือนธันวาคม
คณะกรรมการประเมิน ได้ขอบคุณ นายกอบต. และคณะกรรมการ โดยเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งที่ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประเมินผลกองทุนฯเพื่อนำข้อเสนอแนะในการพัฒนากองทุนฯที่รับผิดชอบในพื้นที่ของตนเอง อีกด้วย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
สุจิตรา ปัญญาดิลก/รายงานภาพข่าว

 
     
      By : ประชาสัมพันธ์  Mail to ประชาสัมพันธ์    (223.206.19.*)  8/11/2012 10:58 PM  
 
 

 
กำหนดหัวหน้ากลุ่มงาน/งาน ...สสจ.ร้อยเอ็ด
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์คอมพิวเตอร์ โทร. 0-4351-1754 ต่อ 123
The best view at 800x600 pixel 16 bit or better, support with IE 5.0 or later